เรื่องน่ารู้จากชาเล่ต์ |
24-12-2018 |
มีผู้ชมแล้ว 658 ครั้ง |
รูปภาพประกอบ www.greenspec.co.uk ความกล้าในการท้าทายกฏเกณฑ์ทางสถาปัตยกรรมแบบเดิมๆในปัจจุบัน รวมถึงแนวโน้มในอนาคตการแข่งขันทางด้านสถาปัตยกรรมอาจไม่ได้วัดกันที่ขนาดความใหญ่โตหรูหรา หรือ ความสูงเฉกเช่นยุคก่อนแล้ว ในอนาคตอันใกล้สถาปัตยกรรมจะถูกผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยี และระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence : AI) มากขึ้น ทั้งในด้านระบบโครงสร้าง และนวัตกรรมอาคาร ถ้าหากเรายังคงยึดติดกับขนาดความใหญ่โต หรูหรา และความสูง วันนี้คงไม่มีตึกที่เอียงที่สุดในโลก อย่างตึก Capital Gate หรือ ตึกระฟ้าพลังงานลม Bahrain World Trade Center ที่ติดตั้งเทคโนโลยีกังหันลมโดยผลิตกระแสไฟฟ้าได้เองตึกแรกของโลก เกิดขึ้นให้เราได้เชยชมเป็นแน่ ซึ่งทั้งสองตึกที่กล่าวมาล้วนท้าทายทุกกฏของสถาปัตยกรรมที่เคยมีมาบนโลกนี้ได้อย่างน่าสนใจ และนำพามาซึ่งทฤษฎีทางวิศวกรรมรูปแบบใหม่เช่นเดียวกับในอดีตที่ผ่านมา ที่ไม้ถูกมองว่าเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติด้อยในด้านความแข็งแรงทนทาน และมีจุดอ่อนในหลายๆด้าน เมื่อเทียบกับคอนกรีต และเหล็กรูปพรรณ แนวคิดการใช้ไม้ในการนำมาทำโครงสร้างอาคารระฟ้าจึงแทบเป็นไปไม่ได้เลย นั่นจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้คนทั่วไปจะมองว่าตึกสูงทั้งหมดทั่วโลกต้องสร้างมาจากเหล็ก หรือ คอนกรีต เท่านั้นแต่ใครจะคาดคิดว่าสักวันหนึ่ง ตึกสูงก็สามารถสร้างขึ้นจากโครงสร้างไม้ได้เช่นกัน แถมยังมีความแข็งแรงทนทาน ทนต่อแผ่นดินไหว ทนไฟได้ดีไม่แพ้วัสดุชนิดอื่นเลยด้วยซ้ำ และ ณ ปัจจุบัน ตึกระฟ้าที่สร้างจากระบบโครงสร้างไม้ที่สูงที่สุดในโลกได้ปรากฏโฉมขึ้นมาแล้ว ในประเทศแคนาดา
อาคารที่สะท้อนถึงความพยายามของมนุษย์ที่จะพัฒนาเทคโนโลยีโครงสร้างไม้ให้มีความก้าวหน้าในศตวรรษที่ 21
หลังการปรากฏตัวขึ้นของตึก Brock Commons ในเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ซึ่งได้รับการออกแบบโดยสถาปนิก รัสเซลล์ แอ็กตัน (Russell Acton) ได้สะท้อนถึงความพยายามของมนุษย์ที่จะพัฒนาเทคโนโลยีโครงสร้างไม้ให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น ถ้าหากมองผิวเผินจากภายนอกตึก Brock Commons อาจดูเหมือนตึกธรรมดาทั่วๆไป แต่ถ้าหากได้รู้ถึงรายละเอียดโครงสร้างแล้ว อาจจะทำให้ผู้อ่านต้องแปลกใจ เพราะว่าตึก Brock Commons เป็นอาคารโครงสร้างไม้ที่มีความสูงถึง 53 เมตร มีจำนวน 18 ชั้น นับเป็นอาคารระฟ้าหลังแรกของโลกที่ทำจากโครงสร้างไม้ที่มีความสูงที่สุด
และนั่นก่อให้เกิดคำถามตามมามากมายเช่นกัน ว่าทำไมจึงไม่เลือกใช้ระบบโครงสร้างคอนกรีต หรือ โครงสร้างเหล็กเฉกเช่นอาคารอื่นๆ ซึ่งน่าจะปลอดภัยกว่าไม้ "โครงสร้างไม้มันจะแข็งแรงมากพอกับการรับน้ำหนักของตึกระฟ้าหรือไม่""โครงสร้างไม้จะป้องกันแผ่นดินไหวได้ไหม""โครงสร้างไม้เมื่อใช้ไปนานๆมันจะผุพัง หรือ ถล่มลงมาไหม""โครงสร้างไม้จะกันปลวก และความชื้นได้จริงหรือ"และคำถามยอดฮิตเลย ก็คือ "โครงสร้างไม้จะกันไฟได้จริงๆหรอ เมื่อเทียบกับเหล็ก และปูน"เรามาดูกันครับว่าไม้ที่นำมาทำโครงสร้างตึกสูงเช่นนี้ จะตอบโจทย์ความสงสัยด้านบนได้มากน้อยเพียงใด
ตึกระฟ้าต้นแบบที่สร้างมาจากโครงสร้างไม้แปรรูป Cross-Laminated Timber ทั้งหลังตึก Brock Commons ในเมืองแวนคูเวอร์ ถือเป็นตึกไม้ระฟ้าต้นแบบแห่งแรกของโลก ที่ใช้ระบบโครงสร้างไม้เกือบทั้งอาคารมากกว่า 90% (มีเพียงปล่องลิฟท์เท่านั้นที่ทำจากคอนกรีต) โดยโครงสร้างไม้ดังกล่าวทำมาจากเทคโนโลยีไม้แปรรูป ที่มีชื่อเรียกว่า Cross-Laminated Timber หรือ CLT ซึ่งได้จากการนำไม้หลายๆ ชิ้น มาเชื่อมอัดเข้าด้วยกาวต่อกันเป็นชั้นเลเยอร์ ในลักษณะครอสแนวขวางสลับกันไปมาในแต่ละชั้นเลเยอร์ นั่นจึงทำให้มวลของไม้ CLT มีความหนาแน่น และมีความแข็งแรงในการรับน้ำหนักเกินกว่าไม้ทั่วๆไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม Call Center 02-831-8222 หรือ Line Id : @chalet >> http://line.me/ti/p/EAPhJlkOjM